หมดปัญหาสนิมขึ้นเหล็ก กัดกินเนื้อโลหะ รวมถึงของใช้ต่างๆ ที่ทำมาจากเหล็กเป็นหลัก หรือมีเหล็กเป็นองค์ประกอบ เมื่อของใช้เริ่มเกิดสนิม มีสนิมเกาะ พอนานๆ เข้าก็เริ่มผุกร่อน จนใช้งานไม่ได้อีก เรามีตัวช่วยมาให้คุณแล้ว กับ “น้ำยากัดสนิม” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้คราบสนิมหลุดลอกออก ช่วยลดการยึดเกาะของคราบสนิม หรือออกไซด์ที่เกิดขึ้นกับโลหะ และป้องกันการเกิดสนิมได้อีกด้วย แต่จะมียี่ห้อไหนบ้าง ไปดูกันเลย | จัดอันดับโดยเว็บ pro4289.com
ชนิดของน้ำยากัดสนิม
- ชนิดน้ำ เป็นชนิดที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด โดยวิธีการใช้น้ำยากัดสนิมชนิดน้ำของแต่ละแบรนด์จะมีความแตกต่างกัน บางแบรนด์อาจใช้การทาลงบนพื้นผิวที่มีสนิมเกาะ หรือจะเป็นการนำของใช้ที่มีคราบสนิมมาแช่ในน้ำยากัดแทน
- ชนิดสเปรย์ เป็นแบบกระป๋อง เพียงกดที่หัวสเปรย์ลงไป ก็จะมีละอองออกมา ใช้งานได้ง่าย เพียงแค่พ่นสเปรย์ลงไปบนพื้นผิวที่มีสนิมเกาะอยู่ จากนั้นสารเคมีก็จะเข้าไปทำการขจัดหรือคลายสนิมออกมา
- ชนิดผง ใช้สำหรับขจัดสนิม จะเหมาะสำหรับการขจัดคราบสนิมบนเซรามิก, คอนกรีต หรือเนื้อผ้า วิธีการใช้เพียงเทลงไปบนพื้นผิวที่มีสนิทเกาะอยู่ หรือผสมกับน้ำแล้วนำไปทาบนคราบสนิมก็ได้
ประเภทของน้ำยากัดสนิม
- น้ำยากัดสนิมแบบกรด
กรดเป็นสารเคมีที่นิยมใส่ลงไปในน้ำยากัดสนิม โดยจะใส่กรดลงไปในน้ำยาประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะเมื่อนำไปผสมกับน้ำ และเช็ดลงบนของใช้ที่มีสนิมเกาะ กรดจะทำการขจัดคราบออกอย่างรวดเร็ว แต่ต้องมีควาระมัดระวังในการใช้งาน เนื่องจากกรดค่อนข้างรุนแรง สามารถกัดผิวหนังของเราได้
- โซเดียม ไดไธโอไนท์
โซเดียม ไดไธโอไนท์จะมีลักษณะเป็นผง ส่วนใหญใช้ทำความสะอาดห้องครัว, ห้องน้ำ หรือเครื่องซักผ้า เพียงนำไปทาบริเวณที่มีคราบสนิมประมาณ 5-30 นาที ก็ให้เราออกแรงขัดเพียงเล็กน้อย โซเดียมก็จะทำการกัดสนิมออกไปจนสะอาดเหมือนใหม่
- ตัวทำละลายปิโตรเลียม
ซึ่งมีอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่แบรนด์ ‘WD40’ ได้ผลิตออกมา โดยมีส่วนผสมของตัวทำละลายปิโตรเลียม แม้ว่าการกัดกร่อนไม่มีความรุนแรงเท่ากับ ‘กรด’ หรือ ‘โซเดียม ไดไธโอไนท์’ แต่จะมีก๊าซที่ช่วยป้องกันการเกิดสนิมและกำจัดสนิมได้ในระดับหนึ่ง
- สารอินทรีย์
สารอินทรีย์จะไม่มีส่วนผสมทางเคมี ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของเรา เพียงแต่ระยะเวลาการออกฤทธิ์ในการกำจัดสนิมอาจนานกว่าสารประเภทอื่น เพราะจำเป็นต้องตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือทิ้งไว้แบบค้างคืน แล้วจึงค่อยมาเช็ดในวันต่อมา
- น้ำยาเปลี่ยนแปลงสภาพสนิม
ลักษณะของน้ำยาชนิดนี้จะเป็นสีขาว มีสารประกอบเชิงซ้อนอย่างแมกเนไทต์ ที่พอสัมผัสกับสนิมแล้ว ก็จะทำการเคลือบเป็นลักษณะของฟิล์มสีดำ ทำให้วัตถุนั้นๆ ได้รับการเคลือบและมีความเรียบมันวาว
วิธีการเลือกน้ำยากัดสนิม
- รูปแบบของน้ำยา
การเลือกจากน้ำยามีให้เลือกหลักๆ อยู่ 3 ชนิด คือ ชนิดผง ชนิดสเปรย์ และชนิดน้ำ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน ชนิดสเปรย์จะใช้งานง่ายที่สุด แต่จะไม่สามารถควบคุมให้การฉีดพ่นละออง อยู่แค่ตรงจุดที่เราต้องการกำจัดสนิมเท่านั้น
- สารเคมีในน้ำยา
สารเคมีนอกจากจะช่วยกำจัดสนิมแล้ว ยังส่งผลต่อคนที่ใช้งานด้วย ถ้าหากผลิตภัณฑ์มีการใช้สารเคมีอันตรายอย่างกรดออกซาลิก เราจำเป็นต้องใช้ถุงมือ หรือหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันอันตรายจากสารเคมีภายในน้ำยา
- กลิ่นของน้ำยา
คนส่วนใหญ่ที่ไม่ชอบกลิ่นฉุนจะเลือกใช้น้ำยากัดสนิมที่มีความเป็นอินทรีย์หรือ Eco-Friendly เพราะน้ำยาชนิดนี้ค่อนข้างปลอดภัยและไม่ค่อยมีกลิ่น แต่ในบางกรณีก็จำเป็นต้องใช้น้ำยาแบบแรงที่มีกลิ่นค่อนข้างฉุน แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการสูดดมเข้าสู่ร่างกาย
วิธีการป้องกันไม่ให้สนิมขึ้นเหล็ก
- ใช้สแตนเลสสตีล สามารถช่วยป้องกัน และยืดระยะเวลาการเกิดสนิมได้
- ทาด้วยน้ำมัน เพราะน้ำมันจะเคลือบเหล็กเอาไว้ ไม่ให้น้ำหรือความชื้นสัมผัสกับเหล็กโดยตรง ซึ่งป้องกันสนิมได้ดี
- ใช้น้ำยา Dry Coat เพื่อช่วยสร้างฟิล์มหนาบนเหล็ก ทำให้เหล็กของเราแห้งตลอดเวลา และยังช่วยลดการกัดกร่อนให้กับเหล็กได้อีกด้วย
- เก็บไว้ให้พ้นจากความชื้น เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิมได้
- ทาสีลงบนเหล็ก นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว การทาสียังช่วยป้องกันการเกิดสนิมได้เช่นกัน
ข้อควรระวังในการใช้น้ำยากัดสนิม
น้ำยากัดสนิมมีส่วนผสมของกรด จึงอันตรายต่อผู้ใช้งาน เพราะกรดที่อยู่ในน้ำยาจะทำปฏิกิริยากับสนิมและโลหะจนเกิดก๊าซอันตราย เมื่อสูดดมเข้าไปย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ และถ้าน้ำยาโดนผิวหนังก็จะเกิดรอยไหม้กัดกร่อนจนแสบร้อนตามผิวหนัง ดังนั้น ควรเลือกใช้น้ำยากัดสนิมที่ไม่มีส่วนผสมของกรดจะดีที่สุด เพื่อลดการกัดกร่อนของพื้นผิวชิ้นงานและเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน หากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ทุกครั้งที่ใช้น้ำยากัดสนิมควรป้องกันด้วยการใส่หน้ากากอนามัย และถุงมือ เพื่อช่วยป้องกันการสูดดม และไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับตัวน้ำยา
10 อันดับ น้ำยากัดสนิม ยี่ห้อไหนดี 2024
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
|
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Sonax Multi Purpose Oil
|
AUTOSOL Metal Polish
|
Autosol Rust Ex
|
HG Rust Remover
|
PERMATEX 68DA
|
CRC Rust Remover
|
Spa Clean น้ำยาขจัดคราบสนิม
|
Wuerth น้ำยาขจัดสนิม Rost Off Plus
|
RUST-SOV
|
Over & Cookware Clean
|
|
วิธีการใช้ | หัวสเปรย์ฉีดพ่น | ขัดพื้นผิว | ขัดพื้นผิว | ขัดพื้นผิว | หัวสเปรย์ฉีดพ่น | ผสมน้ำก่อนใช้งาน | ขัดพื้นผิว | หัวสเปรย์ฉีดพ่น | ผสมน้ำก่อนใช้งาน | ขัดพื้นผิว |
ปริมาณ | 500 ml. | 75 ml. | 250 ml. | 500 ml. | 340 ml. | 1,000 ml. | 3,800 ml. | 300 ml. | 500 ml. | 500 g. |
ใช้น้ำมันทำละลาย | ||||||||||
มีสารเคลือบกันสนิม | ||||||||||
มีส่วนผสมของกรด | ||||||||||
ราคาเริ่มต้นที่ | 119 บาท | 100 บาท | 390 บาท | 390 บาท | 295 บาท | 269 บาท | 179 บาท | 354 บาท | 85 บาท | 15 บาท |
เช็คราคาล่าสุด |