มีดทำครัวเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีติดครัวไว้กับทุกบ้าน ไม่ว่าจะใช้ในการหั่น สับ ตัด แล่ เลาะ ซอย เนื้อสัตว์ ผัก และปอกผลไม้ มีดทำครัวในปัจจุบันถูกออกแบบให้มีรูปลักษณ์ ขนาด และคุณสมบัติในการใช้ที่แตกต่างกันไป เพื่อการใช้งานที่เหมาะสมกับวัตถุดิบที่มีความหลากหลาย ซึ่งสำหรับในครัวเรือนอาจมีมีดเพื่อใช้ในการทำครัวติดบ้านไว้เพียง 2-3 เล่มเท่านั้น แต่สำหรับโรงแรม ร้านอาหารหรือกิจการต่างๆ ที่ต้องมีการทำอาหารอยู่ด้วยนั้น จำเป็นต้องมีมีดหลายประเภท เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวกในการหั่น สับ ตัด เลาะ แล่วัตถุดิบต่างๆ มากยิ่งขึ้น และสำหรับบทความนี้เราอยากจะมาแนะนำ 10 อันดับ มีดทำครัว ยี่ห้อไหนดี ที่ควรมีติดบ้านไว้ รวมถึงเคล็ดลับและวิธีการเลือกมีดทำครัว เพื่อการใช้งานที่เหมาะสม และรักษาความคมของมีดให้ใช้งานได้ยาวนาน | จัดอันดับโดย pro4289
วัสดุที่นิยมใช้ทำมีดทำครัว
มีดทำครัวที่หลายๆ บ้านต้องมีติดครัวไว้เพื่อใช้ในการหั่น สับ ตัด แล่เนื้อสัตว์และผักในการทำอาหาร หรือปอกเปลือกผลไม้ จึงทำให้มีดที่ใช้กันอยู่มีรูปลักษณ์ที่หลากหลาย แต่สิ่งสำคัญคือวัสดุที่นำมาใช้ในการทำมีด เพื่อให้มีดมีความแข็งแรง ทนทาน และมีความคมที่คงอยู่ได้นาน ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแล้วมาจากวัสดุที่นำมาผลิต โดยวัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำมีดและใบมีด มีดังนี้
- มีดสแตนเลส
มีดที่ทำมาจากสแตนเลส เป็นมีดที่ได้รับความนิยมในอันดับต้นๆ ในเหล่าบรรดาพ่อบ้าน แม่บ้าน ไปจนถึงเชฟมืออาชีพ เนื่องจากสแตนเลสมีคุณสมบัติในเรื่องของความแข็งแรง คงทนต่อการกัดกร่อน และไม่เป็นสนิม ที่สำคัญคือมีน้ำหนักพอเหมาะ ทำให้เวลาใช้งานจะใช้ได้อย่างคล่องมือ
นอกจากนี้ มีดที่ทำจากสแตนเลส ยังช่วยป้องกันการปนเปื้อนในอาหารได้ เพราะสแตนเลสมีความมันวาว จึงทำให้สิ่งสกปรกต่างๆ ติดบนใบมีดได้ยาก แถมตัวใบมีดก็มีความคมและเมื่อนำไปลับก็จะคมได้ง่ายมากๆ แต่ข้อเสียของมีดที่ทำจากสแตนเลสคือ อาจมีโอกาสเสียความคมได้เร็วสำหรับการนำไปใช้งานในบางกรณีที่ไม่เหมาะกับประเภทของมีดด้วยเช่นกัน
- มีดเหล็ก High Carbon
เป็นมีดที่ทำมาจากเหล็กซึ่งได้รับความนิยมไม่แพ้กับมีดสแตนเลส เพราะหาซื้อได้ง่าย และมีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้งานได้นาน แถมมีดเหล็กมีความคมสูงมาก ตัวใบมีดมีความหนาและหนัก ทำให้ไม่ต้องออกแรงเยอะในการหั่นวัตถุดิบอาหาร ใบมีดสามารถลับเพื่อเพิ่มความคมให้ใช้งานต่อได้เรื่อยๆ แต่ข้อเสียของมีดเหล็กคือ เป็นสนิมได้ง่าย จึงไม่ควรนำมีดไปแช่น้ำทิ้งไว้อย่างเด็ดขาด และต้องหมั่นเช็ดมีดให้แห้งก่อนเก็บเข้าที่ทุกครั้ง
- มีดเซรามิก
มีดชนิดนี้ทำจากเซอร์โคเนียม ไดออกไซด์ (Zirconium Dioxide) ซึ่งมีคุณสมบัติให้ความคมสูงมาก สามารถใช้งานได้นานและเป็นสนิมได้ยากมากๆ มีดเซรามิคมีน้ำหนักค่อนข้างเบา ทำให้จับได้ถนัดมือมากขึ้น อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีดจะไม่มีกลิ่นของโลหะไปติดอยู่บนวัตถุดิบหลังจากหั่นและสับวัตถุดิบต่างๆ แต่ยังมีข้อเสียคือ ใบมีดจะมีความเปราะบางกว่ามีดเหล็ก ทำให้ไม่เหมาะกับการหั่นหรือสับวัตถุดิบที่มีความแข็ง เช่น กระดูก หรือพวกอาหารแช่แข็งต่างๆ เป็นต้น
ประเภทของมีดทำครัว
- มีดเชฟ (Chef’s Knife)
มีดเชฟ เป็นมีดที่ใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสับ หั่น ตัด ปอก แล่ หรือการนำมาเลาะกระดูก เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์คู่ใจของเชฟที่ขาดไม่ได้กันเลยทีเดียว นอกจากจะใช้งานได้อย่างหลากหลายรูปแบบแล้ว มีดประเภทนี้ยังสามารถใช้กับวัตถุดิบที่หลากหลายประเภทได้ด้วยเช่นกัน แต่สำหรับการเลือกใช้มีดเชฟจะต้องเลือกจากน้ำหนักของมีดว่ามีความเหมาะกับมือของผู้ใช้หรือไม่ เพราะเวลาจับใช้งานจะต้องรู้สึกว่ามีดไม่หนักเกินไป เพื่อให้ใช้งานได้คล่องมือและหยิบจับได้อย่างถนัด ส่วนขนาดมาตรฐานของมีดเชฟโดยทั่วไปจะอยู่ที่ความยาวประมาณ 6 – 12 นิ้ว
- มีดปอก (Paring Knife)
มีดปอก เป็นมีดทำครัวที่มีขนาดเล็ก แต่มีความคมอยู่มาก ใช้สำหรับปอก หั่น ตัดผักและผลไม้ รวมถึงใช้กับเนื้อสัตว์บางชนิดได้ ด้วยขนาดของมีดปอกที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดและมีน้ำหนักเบา ทำให้ใช้งานได้อย่างสะดวก แถมยังคล่องมืออีกด้วย จึงทำให้สามารถใช้กับงานที่ต้องการความละเอียดได้เป็นอย่างดี แต่ข้อควรระวังสำหรับการใช้มีดปอกคือ ไม่ควรลงน้ำหนักมือเยอะและเร็วเกินไป เนื่องจากใบมีดมีความคมสูง หากไม่ระวังในการใช้งานอาจโดนมีดบาดมือได้ง่าย ส่วนขนาดมาตรฐานของมีดประเภทนี้จะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5 – 4 นิ้ว
- มีดอเนกประสงค์ (Utility Knife)
มีดประเภทนี้สามารถใช้งานได้สารพัดประโยชน์ตามชื่อเรียกได้เลย ใช้ได้กับทั้งการหั่น ซอย เจาะ เลาะ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมนำมาใช้ในการหั่นผักและผลไม้ เพราะมีดอเนกประสงค์จะมีรูปทรงคล้ายกับมีดเชฟ แต่แตกต่างกันตรงที่มีดประเภทนี้จะมีขนาดเล็กกว่า และใบมีดก็มีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร สำหรับขนาดมาตรฐานทั่วไปของมีดอเนกประสงค์จะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 4 – 7 นิ้วเท่านั้น ซึ่งมีความสั้นกว่ามีดเชฟอยู่พอสมควร
- มีดสับ (Cleaver Knife)
มีดสับ หรือมีดปังตอ หรือมีดอีโต้ เป็นมีดที่มีขนาดใหญ่ มีความหนา และมีน้ำหนักค่อนข้างเยอะ นิยมใช้ในการสับวัตถุดิบที่มีความแข็ง เช่น สับกระดูก เอ็น โครงไก่ หรือแม้กระทั่งสับเนื้อสัตว์ดิบให้ละเอียด และพวกของแช่แข็งต่างๆ การใช้มีดประเภทนี้จะช่วยทุ่นแรงไปได้เยอะ ซึ่งลักษณะของใบมีดจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 6 – 7 นิ้ว แต่การใช้มีดสับต้องระวังและควรจับมีดให้กระชับ มั่นคง หากจับมีดไม่ดี อาจจะทำให้มีดกระเด็นหลุดออกจากมือในระหว่างสับวัตถุดิบได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายและจะทำให้ผู้ใช้งานได้รับบาดเจ็บได้ง่าย
- มีดแล่เนื้อ (Carving Knife)
มีดแล่เนื้อ หรือเรียกอีกชื่อว่ามีดสไลด์ เหมาะสำหรับพ่อครัว แม่ครัว หรือผู้ที่มีความชำนาญในการใช้มีดเป็นอย่างดีแล้ว เพราะมีดประเภทนี้เป็นมีดเฉพาะทางที่ใช้สำหรับการแล่เนื้อโดยเฉพาะ เช่น การสไลด์เนื้อหมู สไลด์เนื้อวัว หรือการหั่นก้อนแฮมเพื่อให้เป็นแผ่นบางๆ มีดแล่มีปลายมีดที่แหลมและคมมาก ซึ่งสามารถเจาะหรือหั่นเนื้อเหนียวๆ ได้แบบสบายๆ ช่วยทำให้การแล่เนื้อออกมาเป็นชิ้นตามที่ต้องการได้อย่างสวยงาม ส่วนความยาวของใบมีดจะอยู่ที่ราวๆ 20 เซนติเมตร และขนาดความยาวมาตรฐานของมีดจะอยู่ที่ประมาณ 8 – 15 นิ้ว
- มีดหั่นขนมปัง (Bread Knife)
เป็นมีดที่มีลักษณะเด่นคือ ใบมีดมีความคมและเป็นหยัก เพื่อใช้ในการหั่นและตัดขอบขนมปังที่แข็งและหนา ด้วยใบมีดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ จึงไม่ทำให้เนื้อขนมปังภายในที่มีความนุ่มแตกออกจากกัน และยังช่วยให้สามารถหั่นขนมปังออกมาได้หลากหลายรูปแบบอีกด้วย สำหรับขนาดโดยทั่วไปของมีดประเภทนี้จะมีความยาวอยู่ที่ 6 – 10 นิ้ว และจะนิยมเปลี่ยนมีดใหม่ทุกๆ 2 – 3 ปี หรือจนกว่ามีดที่ใช้อยู่จะไม่มีความคม
- มีดแล่ปลา (Filleting Knife)
มีดแล่ปลาเป็นมีดที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะทางเท่านั้น ใบมีดจะเป็นรูปทรงโค้ง มีความบางและแหลม ความโค้งและความบางของใบมีดจะช่วยในการซอกซอนเข้าเนื้อปลาได้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น แถมยังเลาะก้างปลาออกมาได้ง่ายมากๆ อีกด้วย
- มีดเลาะกระดูก (Boning Knife)
มีดเลาะกระดูก ถูกออกแบบมาให้คล้ายกับส่วนหัวของปลาฉลาม โดยจะมีด้ามจับที่ผอมเรียว ส่วนใบมีดจะมีความแหลมและคม ซึ่งมีดประเภทนี้จะช่วยให้เชฟสามารถใช้ในการหั่นและเลาะเนื้อบริเวณกระดูกออกได้ง่าย สำหรับขนาดความยาวมาตรฐานของมีดประเภทนี้จะอยู่ที่ประมาณ 5 – 6 นิ้ว
วิธีการเลือกมีดทำครัว
ด้วยความหลากหลายของมีดทำครัวที่มีประเภทในการใช้งานและทำมาจากวัสดุที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เราจึงอยากแนะนำเคล็ดลับดีๆ ในการเลือกใช้มีดทำครัว เพื่อให้เหมาะสำหรับการใช้งานของคุณ โดยเราได้รวบรวมวิธีการและแนวทางในการเลือกซื้อเลือกใช้มีดทำครัว เพื่อการใช้งานได้จริงและคุ้มค่าต่อการนำไปใช้ของคุณ
1.เลือกมีดทำครัวจากวัสดุที่ใช้ผลิต
วัสดุที่นิยมนำมาผลิตมีดทำครัว หลักๆ จะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ มีดที่ทำจากสแตนเลส เป็นมีดที่เหมาะสำหรับมือใหม่และมือโปร มีความแข็งแรง ทนทาน ใบมีดมีความคมและมีความมันวาว ไม่เป็นสนิมง่าย ส่วน มีดที่ทำจากเหล็ก จุดเด่นคือเป็นมีดที่มีความคมมากที่สุด มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แต่มีโอกาสเป็นสนิมได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาดให้แห้งก่อนเก็บมีดเข้าที่ และการใช้มีดเหล็กสำหรับผู้หญิงอาจต้องจับให้ดี เพราะตัวมีดค่อนข้างหนักกว่ามีดที่ทำจากวัสดุอื่นๆ และ มีดที่ทำจากเซรามิก ข้อดีของมีดเซรามิคคือไม่มีกลิ่นของโลหะติดกับวัตถุดิบที่หั่นหรือสับ และยังสามารถใช้งานได้หลากหลาย แถมทำความสะอาดได้ง่ายกว่ามีดเหล็ก เพราะไม่เป็นสนิม ไม่มีกลิ่นติดมีด และมีน้ำหนักเบาทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเพศไหนก็จับได้ถนัดมือ แต่มีดเซรามิกเป็นมีดที่บิ่นง่ายและมีโอกาสเป็นรอยได้ง่ายกว่ามีดอื่นๆ ดังนั้นสำหรับการลับมีด อาจต้องใช้ที่ลับมีดเซรามิกโดยเฉพาะ
2.เลือกมีดทำครัวจากประเภทของมีด
โดยหลักๆ แล้ว มีดทำครัวที่ควรมีติดบ้านไว้ จะมีอยู่ 3 แบบ เพื่อการใช้งานได้แบบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการหั่น สับ ตัด ซอย เจาะ ปอก หรือการเลาะ ซึ่ง 3 ลักษณะของมีดที่ควรมีติดครัวไว้ มีดังนี้
- มีดเชฟและมีดอเนกประสงค์ มีด 2 ประเภทนี้ เป็นมีดที่ใช้งานได้แบบอเนกประสงค์ ไม่ว่าจะใช้ในการสับ หั่น แล่ ซอย และอื่นๆ ตามความเหมาะสมของขนาดและความยาวของใบมีด ซึ่งถือว่าเป็นมีดครอบจักรวาลและใช้ได้ดีกับทั้งเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ต่างๆ อีกด้วย
- มีดหั่น เป็นมีดที่มีขนาดเล็ก แต่จับได้ถนัดมือ มีไว้สำหรับการปอกเปลือกผักและผลไม้ หรือใช้ในงานที่ต้องการความละเอียด และยังสามารถใช้กับการหั่นเนื้อสัตว์บางชนิดได้
- มีดสับ หรือมีดอีโต้ หรือมีดปังตอ มีดที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ซึ่งมีดประเภทนี้เหมาะสำหรับสับ ตัด และหั่นของแข็ง พวกของแช่แข็ง เนื้อสัตว์ กระดูก และวัตถุดิบอื่นๆ ที่มีความแข็ง
3.เลือกมีดทำครัวจากความยาวของมีด
ความยาวของมีดที่พอดีและเป็นที่นิยมใช้กันมากจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 16 – 18 ซม. ซึ่งเมื่อวัดจากด้ามจับไปจนถึงปลายมีดแล้วถือว่ามีขนาดกำลังพอเหมาะ เพราะไม่ยาวหรือไม่สั้นจนเกินไป อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้แบบอเนกประสงค์ ไม่ว่าจะใช้ในการหั่น ตัด ซอย สับ แล่ เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ นอกจากนี้ สำหรับมีดที่มีความยาวต่ำกว่า 15 ซม. จะเหมาะกับการหั่นผักหรือผลไม้ หรือวัตถุอาหารที่เป็นของชิ้นเล็กๆ เพราะช่วยให้ตัดได้ง่าย จับได้ถนัดมือ และใช้งานได้คล่องมืออีกด้วย ส่วนมีดที่มีขนาดใหญ่โดยมีความยาวอยู่ที่ 19 ซม. ขึ้นไป จะเป็นมีดที่ใช้ในการหั่น สับ ตัดเนื้อสัตว์หรือพวกวัตถุดิบและอาหารที่เป็นของแข็ง หรือมีความแข็งมาก
10 อันดับ มีดทำครัว ยี่ห้อไหนดี 2024
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
|
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มีดทำครัว SASIT มีดเชฟญี่ปุ่น
|
มีดทำครัว ZWILLING | รุ่น Twin Pollux
|
มีดทำครัว Narihira มีดแล่ปลา มีดญี่ปุ่น
|
มีดทำครัว Kai Sekimagoroku | รุ่น AE2905 k033
|
ชุดมีดทำครัว HAFELE 7 ชิ้นพร้อมแท่นเสียบมีด
|
ชุดมีดทำครัว HAFELE 5 ชิ้นพร้อมแท่นเสียบมีด
|
มีดทำครัว Becef มีดญี่ปุ่น มีดสับ มีดปังตอ
|
มีดทำครัว Seagull 3 ชิ้น พร้อมเขียง | รุ่น Pro knives Set
|
มีดทำครัว Cimeter | รุ่น KB-2219-250-BK
|
มีดทำครัว Tovolo | รุ่น 81-10895
|
|
ประเภท | มีดเชฟ | มีดเชฟ | มีดเชฟ | มีดเชฟ | ชุดมีดทำครัว (มีดปอกผลไม้, มีดครัว, มีดสับ, มีดเชฟ, มีดแล่) | ชุดมีดทำครัว (มีดปอก, มีดอเนกประสงค์, มีดเชฟ, มีดเชฟ) | มีดสับ | มีดเชฟโปร, มีดปอกผลไม้ | มีดสไลด์ | มีดเชฟ |
วัสดุ | เหล็ก Damascus 67 ชั้น | สแตนเลสสตีล | สแตนเลส | สแตนเลส | สแตนเลส | เซรามิค | เหล็กกล้าไร้สนิม 4CR14 | สแตนเลสสตีล | สแตนเลส | เหล็กกล้าผสมคาร์บอนสูงเยอรมัน |
ความยาวของมีด | 33 cm. | 20 cm. | 38 cm., 40.5 cm., 44.5 cm. | 29.3 cm. | มีดปอกผลไม้ 12.7 cm., มีดครัว 12.7 cm., มีดสับ 15.24 cm., มีดเชฟ 20.32 cm., มีดแล่ 20.32 cm. | มีดปอก 17.5 cm., มีดอเนกประสงค์ 20 cm., มีดเชฟ 23.5 cm., มีดเชฟ 27 cm. | 33 cm. | มีดเชฟโปร 20.32 cm., มีดปอกผลไม้ 12.7 cm. | 8.5 นิ้ว | 15.9 cm., 20.32 cm., 25.4 cm., 30.48 cm. |
ราคาเริ่มต้นที่ | 3,299 บาท | 1,590 บาท | 1,400 บาท | 1,100 บาท | 940 บาท | 850 บาท | 569 บาท | 479 บาท | 676 บาท | 250 บาท |
เช็คราคาล่าสุด |