หนีไม่พ้นเลยกับสายฉีดชำระที่ใช้ในห้องน้ำ มีน้ำซึม น้ำรั่วออกมา สายฉีดชำระเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งของใช้ที่อยู่คู่กับห้องน้ำ ซึ่งแต่ละแบรนด์มีการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์แตกต่างกันออกไป เพื่อความสวยงาม ความสะดวกสบายต่อการใช้งาน ให้ทันสมัยมากขึ้น แต่นอกจากความสวยงามแล้ว เราต้องดูให้ดีว่าแบรนด์ไหนเหมาะกับความต้องการ และตอบโจทย์ในด้านความทนทานให้ใช้งานได้นาน ไม่ต้องเจอกับปัญหาเดิมๆ อีก ในบทความนี้เรารวบรวมข้อมูลของสายฉีดชำระ ว่ามีแบรนด์ไหนบ้างที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ รวมถึงประเภทของสายฉีดชำระ และวิธีการเลือกสายฉีดชำระ ให้ตรงตามความต้องการ ไปดูกันเลยว่าจะมีแบรนด์ไหน ตรงใจของคุณกันบ้าง
ประเภทวัสดุของสายฉีดชำระที่นิยมใช้
- สายฉีดชำระหัว ABS ชุบโครเมียม
มีความทนทานสูง แข็งแรง ดูเงางาม ไม่ขึ้นสนิม ราคาถูก ใช้งานได้ยาวนาน ตกไม่แตก ไม่รั่วซึม
- สายฉีดชำระหัวโครเมียม
สายฉีดชำระประเภทนี้จะมีความแข็งแรง ไม่เปราะหักง่าย มีความทนทาน ดูเงางาม และป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี แต่ราคาค่อนข้างสูง
- สายฉีดชำระหัวสแตนเลส
หัวสแตนเลสจะให้ความรู้สึกหรูหรา แข็งแรง มีความทนทาน แต่เมื่อใช้งานไปนานๆ ก็มีโอกาสขึ้นสนิมได้
- สายฉีดชำระหัวพลาสติก
ราคาจะถูกกว่าประเภทอื่น แต่มีข้อเสีย คือ ค่อนข้างชำรุดและแตกหักได้ง่าย หากทำตกพื้นบ่อยๆ
ส่วนประกอบของสายฉีดชำระ
1. หัวฉีดชำระ สามารถแบ่งตามวัสดุที่ใช้ได้เป็น 3 ประเภท
- ทองเหลือง เป็นที่นิยม เพราะมีความสวยงาม ดูหรูหรา แข็งแรงคงทน ไม่เป็นสนิมได้ง่าย
- หัวสแตนเลส ให้ความคงทน แต่ใช้ไปนานๆ อาจเป็นสนิมได้ง่าย
- หัวพลาสติก จะมีน้ำหนักเบา ราคาถูกกว่าสองแบบแรก แต่ใช้ไปนานๆ จะแตกหักได้ง่าย ไม่คงทน
- หัวพลาสติกชุบโครเมียม (Acrylonitrile Butadiene Styrene: ABS) เป็นการนำเทอร์โมพลาสติกมาชุบเคลือบด้วยโครเมียม ทำให้มีความทนทาน ทนต่อแรงกระแทกได้ดี และไม่เป็นสนิม
2. หัวกดสายฉีดชำระ เป็นตัวเปิด-ปิดน้ำเมื่อเราต้องการใช้งาน หลักๆ แบ่งได้เป็น 2 แบบ
- แบบก้านกด เป็นหัวกดที่เราพบได้ทั่วไปสำหรับสายฉีดชำระ
-
- ข้อดีคือ ให้ความสะดวกสบายในการใช้งาน ควบคุมปริมาณน้ำได้
- ข้อเสียคือ หากใช้วัสดุไม่ดีก็อาจแตกหักได้ง่าย
-
- แบบปุ่มกด ลักษณะเป็นปุ่มกดให้น้ำไหลออกมาทีเดียว
-
- ข้อดีคือ ไม่ต้องกดตลอดเวลา เพราะสามารถทำให้น้ำไหลออกมาได้อย่างต่อเนื่องได้ ดูสวยงาม
- ข้อเสียคือ จะไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำที่ออกมาได้
-
3. ข้อต่อส่วนบน เป็นข้อต่อที่เชื่อมส่วนหัวกับสายฉีดเข้าด้วยกัน มักจะมีให้มาเป็นชุดกับส่วนอื่นๆ แต่บางครั้งวัสดุของข้อต่อที่แถมมาอาจไม่ได้คงทน จึงทำให้เกิดการแตกหักได้ง่าย เราจึงต้องหาซื้อข้อต่อมาเปลี่ยนใหม่
4. สายหัวฉีดชำระ สายฉีดชำระมีหลายประเภทให้เลือก ซึ่งแบ่งได้หลักๆ ดังนี้
- สายพลาสติก หรือสายยาง PVC มีลักษณะเป็นเหมือนสายยางขนาดเล็ก
-
- ข้อดีคือ ทนแรงดันน้ำได้ดี และไม่เป็นสนิม มีราคาไม่แพง
- ข้อเสียคือ ความยืดหยุ่นมีน้อย ทำให้สายแตกหักได้ง่ายหากไม่ดูแลให้ดี
-
- สายโลหะถัก มีลักษณะเป็นสายสีเงินทำจากโลหะ
-
- ข้อดีคือ มีความยืดหยุ่นดี ให้ความหรูหราสวยงาม
- ข้อเสียคือ หากไม่เลือกโลหะที่เป็นโครเมียม เมื่อใช้งานไปนานๆ จะเกิดสนิมขึ้นได้
-
5. สต๊อปวาล์ว (Stop Valve) จะเป็นตัวช่วยในการเปิด-ปิดน้ำให้เข้ามาสู่ชักโครก หรือสายฉีดชำระ ทั้งยังช่วยควบคุมแรงดันไม่ให้น้ำแรงเกินไป จึงมีความสำคัญไม่แพ้กับหัวฉีด ข้อต่อ และสายหัวฉีดเลย
วิธีการเลือกสายฉีดชำระ
เมื่อเราได้ศึกษาข้อดีและข้อเสียของสายฉีดชำระแต่ละแบบไปแล้ว คราวนี้ก็มาดูการเลือกสายฉีดชำระกัน ว่าควรเลือกโดยต้องคำนึงถึงเรื่องไหนบ้าง ดูกันเลย
- สามารถรับแรงดันน้ำได้ดี
สายฉีดชำระจะปล่อยน้ำให้ไหลแรงออกมาได้ ก็ต้องเริ่มจากมีแรงดันน้ำที่ดีก่อน ถ้าบ้านเรามีวาล์วเปิด-ปิดน้ำที่ปล่อยน้ำแรงดันสูงมาได้แล้ว แต่สายฉีดชำระไม่สามารถรับแรงดันได้ ก็จะทำให้หัวฉีดชำระ หรือส่วนหัวของสายฉีดชำรุดจนใช้งานไม่ได้ โดยปกติแล้วสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป ควรใช้สายฉีดชำระที่รับแรงดันน้ำได้ตั้งแต่ 1.5 บาร์ขึ้นไป และควรรับได้สูงสุดถึง 4.0 บาร์ จึงจะรับแรงดันน้ำได้ดี
- วัสดุที่ใช้ต้องแข็งแรงทนทาน
ควรใช้สายฉีดที่มีวัสดุที่ทำจากโครเมียม หรือ ABS ซึ่งมีความทนทานดี รับน้ำแรงดันสูงได้ และไม่เป็นสนิม เพื่อให้การไหลของน้ำ ไหลได้แรงอย่างมีคุณภาพ ทั้งยังใช้งานได้ยาวนานอีกด้วย
- หัวกดน้ำที่ช่วยให้น้ำไหลออกมาได้อย่างต่อเนื่อง
เพราะต้องพบกับปัญหาที่เวลากดน้ำจากสายฉีดชำระแล้ว น้ำไหลออกมาไม่ต่อเนื่อง จนทำให้รู้สึกหงุดหงิด ดังนั้นจำเป็นต้องเลือกสายฉีดชำระที่มีหัวกดให้น้ำไหลออกมาได้แบบไม่ติดขัด เพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้งาน
- รูปล่อยน้ำเพื่อให้น้ำไหลออกมาได้อย่างนุ่มนวล
รูปล่อยน้ำที่ดี ต้องรองรับแรงดันของน้ำได้ เพราะถ้าน้ำถูกปล่อยออกมาแรง ก็อาจทำให้รู้สึกเจ็บ และทำร้ายผิวของเราได้ ดังนั้นเราควรพิจารณาการออกแบบรูปล่อยน้ำของหัวสายฉีดชำระด้วยว่ามีคุณสมบัติช่วยให้น้ำไหลแรง แต่นุ่มนวลหรือไม่
5.เลือกขนาดและความยาวของสายฉีดชำระให้เหมาะสม
เพราะขนาดความกว้างห้องน้ำของแต่ละบ้านไม่เท่ากัน การจัดวางชักโครกจึงแตกต่างกันออกไป ดังนั้นควรติดตั้งสายฉีดชำระให้อยู่สูงจากพื้นประมาณ 0.45 เมตร และห่างจากชักโครกในระยะที่แขนสามารถเอื้อมถึงได้ ทั้งนี้การติดตั้งสายฉีดชำระ ขึ้นอยู่กับความถนัดและระยะของตัวสต๊อปวาล์วที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย
10 อันดับ สายฉีดชำระ ยี่ห้อไหนดี 2024
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
|
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
COTTO | รุ่น CT9901#SA(HM)
|
VRH | รุ่น FXVH0-0040NS
|
Hafele | สแตนเลส 304
|
American Standard | รุ่น DuoSTix A-4800-WT
|
EIDOSA | รุ่น EI 6359981
|
KOHLER | รุ่น Cuff hygiene K-98100X-CP
|
WATSON | รุ่น WS-0492S
|
SANWA JET | รุ่น shut-off spray
|
Karat Faucet | รุ่น BW01-11
|
PRIME | รุ่น RS-909-L
|
|
วัสดุหัวฉีดชำระ | สแตนเลส | สแตนเลส | สแตนเลสสตีล 304 | พลาสติก ABS | สแตนเลส | โลหะเคลือบโครเมียม | สแตนเลส | พลาสติก, สแตนเลส | ทองเหลืองเคลือบนิกเกิล | พลาสติก ABS |
ขนาดหัวฉีด | 32 x 122 mm. | 58 x 122.5 x 25 mm. | 28 x 150 x 35 mm. | 23.4 x 106 x 55.4 mm. | 52 x 24.7 x 57.6 mm. | 65 x 152 x 35 mm. | 55 x 116 x 23 mm. | |||
ลักษณะหัวกดฉีด | ด้านนอก | ด้านนอก | ด้านนอก | ด้านนอก | ด้านนอก | ด้านนอก | ด้านนอก | ด้านนอก | ด้านนอก | ด้านนอก |
การรองรับแรงดันน้ำ | 3 บาร์ | 10 บาร์ | 3 บาร์ | 5 บาร์ | 1-3 บาร์ | 5 บาร์ | 3 บาร์ | |||
ลักษณะของสาย | สายถัก | สายถัก | สายถัก | สายถัก | สายถัก | สายถัก | สายถัก | สายถัก | สายถัก | สายเรียบ |
ความยาวของสาย | 1.2 m. | 1.2 m. | 1.2 m. | 1.2 m. | 1.2 m. | 1.2 m. | 1.2 m. | 1.2 m. | 1.2 m. | 1.2 m. |
การติดตั้ง/เปลี่ยนสายฉีดชำระ | มาพร้อมขอแขวน | มาพร้อมเซตหัว+สาย+แขวน | มาพร้อมขอแขวน, อุปกรณ์ติดตั้ง | มาพร้อมขอแขวน | มาพร้อมขอแขวน | มาพร้อมขอแขวน | มาพร้อมขอแขวน | มาพร้อมขอแขวน, พุก, สกรู | มาพร้อมขอแขวน, อุปกรณ์ติดตั้ง | มาพร้อมขอแขวน, อุปกรณ์ติดตั้ง |
รับประกันสินค้า | 1 ปี | 5 ปี | 1 ปี | |||||||
ราคาเริ่มต้นที่ | 610 บาท | 459 บาท | 475 บาท | 660 บาท | 709 บาท | 699 บาท | 496 บาท | 248 บาท | 235 บาท | 129 บาท |
เช็คราคาล่าสุด |